มะละกอ Papaya
มะละกอ ชื่อวิทยาศาสตร์: Carica papyya L. ชื่อวงศ์: CARICACEAE ชื่อสามัญ: Papaya. ชื่อท้องถิ่น: มะก๊วยเต็ด ก๊วยเท็ด
ลักษณะทั่วไปของมะละกอ สามารถเจริญเติบโ๋ตได้ดีในทุกสภาพภูมิอากาศ ดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ท่วมขัง มีความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6.0-6.8 มะละกอใช้ผลบริโภคทั้งผลดิบและผลสุก

การเตรียมดินเพาะกล้ามะละกอ


โดยการใช้ดิน ที่มีส่วนผสมดังนี้ ดินร่วน 3 บุ้งกี๋ ปุ๋ยคอก, ขี้เถ้าแกลบ, ทรายหยาบ อัตราส่วน 1:1:1 ผสมคลุกเคล้าให้เข้ัากัน แล้วนำ มากรอกลงในถุงพลาสติกขนาด 4×6 หรือ 4×4 นิ้ว ให้เต็ม รดน้ำดินในถุงให้ชุ่ม นำเมล็ดพันธุ์มาหยอดลงในถุง ถุงละ 1-2 เมล็ด รดน้ำให้ชุ่มดูแลรักษารดน้ำทุกวัน หลังเมล็ดเริ่มงอกแล้วดูแลรักษาต้นกล้าประมาณ 30 วัน ก็สามารถย้ายปลูกในหลุมปลูกได้

การเตรียมแปลงปลูกมะละกอ

มะละกอ เป็นพืชที่มีระบบรากลึกและกว้าง ทำหลุมปลูกระยะห่างระหว่างแถว 2-2.5 เมตร ระหว่างต้น 2 เมตร ตีหลุมลึก 0.5 เมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนแกงต่อหลุม ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว ทับบนปุ๋ยเคมี นำต้นกล้ามะละกอ ลงปลูกในหลุมกลบโคนเล็กน้อยแล้วรดน้ำให้ชุ่ม หลังปลูกเสร็จให้ทำหลักเพื่อยึดลำต้นไม่ให้โยกขณะลมพัด

พันธุ์มะละกอ
มะละกอฮอลแลนด์ (Holland Papaya)
             
มะละกอ จัดเป็นไม้ผลที่เกษตรกรนิยมปลูกไม่น้อย ทั้งนี้เพราะเป็นพืชที่ให้ผลผลิตเร็ว ผู้ปลูกสามารถปลูกแซม ในพืชหลักก่อนให้ผลผลิต
     หรือปลูกเป็นพืชหลักเพื่อจำหน่าย  ผลผลิตโดยตรง ในแง่ของผู้บริโภคแล้ว มะละกอเป็นผลไม้ ที่ได้รับความนิยมรับประทานกัน
     เพราะรับประทานแล้ว ไม่อ้วน แถมยังช่วยระบบขับถ่ายได้ดี
             สายพันธุ์มะละกอในบ้านเรา มีให้เลือกปลูกพอสมควร ที่โดดเด่นมาอย่างต่อเนื่อง เห็นจะได้แก่มะละกอแขกดำ ซึ่งแบ่งเป็นสายๆไป
     เช่น แขกดำท่าพระ แขกดำศรีสะเกษ หากเป็นเกษตรกรต้องยกให้แขกดำของ คุณปรุง ป้อมเกิด ที่อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
     สำหรับสายพันธุ์ใหม่ มาแรง ได้รับความนิยมอย่างมาก
     ได้แก่ มะละกอฮอลแลนด์ หรือชื่ออื่น คือ ปลักไม้ลาย และเรดมาลาดอล์


. พันธุ์โกโก้ มีทั้งก้านใบสีน้ำตาลเข้มหรือสีม่วงเข้มหรือสีเขียวอ่อน พวกที่ก้านสีเขียวอ่อนหรือสีเขียวจะสังเกตเห็นจุดประสีม่วงตามบริเวณลำต้นได้ชัดเจน โดยเฉพาะในขณะต้นอายุไม่มาก พันธุ์โกโก้ เป็นพันธุ์ที่ออกดอกติดผลเร็ว ต้นเตี้ย อวบแข็งแรง มีขนาดผลขนาดเล็กถึงปานกลางผลค่อนข้างยาวผิวเกลี้ยงเป็นมันปลายผลใหญ่ หัวผลเรียว เนื้อแน่นและหนาสีแดงหรือสีชมพูเข้มรสหวานอร่อย
2. พันธุ์แขกดำ เป็นพันธุ์ที่ลำต้นอวบแข็งแรง ต้นเตี้ยให้ดอกติดผลเร็ว ก้านใบสีเขียวอ่อน รูปทรงของผลยาวรีสีผลออกสีเขียวแก่หรือสีเขียวเข้ม มีเนื้อหนาแน่น เมล็ดน้อย ผลสุกเนื้อสีแดงเข้มมีรสหวาน
3. พันธุ์สายน้ำผึ้ง ลักษณะต้นเตี้ย ก้านใบยาวกว่าพันธุ์แขกดำ ผลค่อนข้างโตทรงผลป้าน คือด้านขั้วผลเล็กและขยายออกด้านท้ายผล เปลือกผลสีเขียว เมื่อสุกเนื้อออกสีแดงปนส้ม เนื้อหนาเนื้อแน่น มีเมล็ดมากรสหวาน
4. พันธุ์จำปาดะ เป็นพันธุ์ที่มีลำต้นอวบแข็งแรง ออกดอกติดผลช้ากว่าพันธุ์โกโก้และพันธุ์แขกดำ ใบและก้านใบออกสีเขียวอ่อน ผลมีขนาดยาว ผลดิบมีสีเขียวอ่อนผลสุกเป็นสีเหลือง เนื้อค่อนข้างบางกว่าพันธุ์อื่นและเนื้อไม่ค่อยแน่น

สรรพคุณมะละกอ
สรรพคุณ :
  • ผลสุก - เป็นยากัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย
  • ยางจากผลดิบ - เป็นยาช่วยย่อย ฆ่าพยาธิ
  • ราก - ขับปัสสาวะ
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • เป็นยาระบาย ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้
  • เป็นยาช่วยย่อย ก. ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัด ประกอบอาหาร
    ข. ยางจากผล หรือจากก้านใบ ใช้ 10-15 เกรน หรือถ้าเป็นตัวยาช่วยย่อยแท้ๆ ( Papain )
  • เป็นยากัน หรือแก้โรคลักปิดลักเปิด โรคเลือดออกตามไรฟัน ใช้มะละกอสุกไม่จำกัด รับประทานเป็นผลไม้ ให้วิตามินซี
  • ราก เป็นยาขับปัสสาวะ
ข้อควรระวัง :
          สำหรับผู้ที่รับประทานมะละกอสุกติดต่อกันเป็นจำนวนมาก เป็นเวลานาน อาจทำให้สารมีสีพวก carotenoid ไปสะสมในร่างกายมากเกินไป ทำให้ผิวมีสีเหลือง
สารเคมี :
  • ในผลมะละกอ ประกอบด้วย โปรตีน 0.5 % คาร์โบไฮเดรต 9.5 % แคลเซี่ยม 0.01 % ฟอสฟอรัส 0.01 % เหล็ก 0.4 มิลลิกรัม/100 กรัม และสารอื่นๆ อีกเล็กน้อย
  • ในส่วนของเนื้อมะละกอ จะมี sucrose, invert sugar papain, malic acid และเกลือของ Tartaric acid, citric acid และ pectin จำนวนมาก (มีทั้งในผลดิบด้วย) และ pigment พวก carotenoid และวิตามินต่างๆ
  • ยางมะละกอ มี enzyme ชื่อ papain ซึ่ง papain เป็นชื่อรวมสำหรับเรียกเอนไซม์จากน้ำยางมะละกอ ซึ่งประกอบด้วย papain 10% chymopapain 45% lysozyme 20%